ปลาแซลมอน

Nn23052550

ปลาแซลมอน

เป็นชื่อสามัญของปลาที่มีก้านครีบหลายสปีชีส์ในวงศ์ Salmonidae เป็นปลาที่กระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกเหนือคือ อเมริกาเหนือ, อะแลสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือและเอเชียตะวันออก ปลาแซลมอนเป็นปลาท้องถิ่นของแม่น้ำต่าง ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำซึ่งไม่ใช่ที่อยู่เดิมต่าง ๆ รวมทั้งเกรตเลกส์ในอเมริกาเหนือและปาตาโกเนียในอเมริกาใต้ปลาเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในฟารม์ทั่วโลก เนื้อแซลมอนปกติจะมีสีส้มจนถึงแดง แม้เนื้อปลาธรรมชาติเป็นสีขาวที่มีหนังเป็นสีขาวดำก็มีด้วย ปลาแซลมอนแอตแลนติกโดยมากที่ขายทั่วโลกเป็นปลาเลี้ยง (เกือบ 99%) เทียบกับปลาแซลมอนแปซิฟิกที่โดยมาก (มากกว่า 80%) เป็นปลาธรรมชาติ

เป็นอาหารที่นิยมมากเพราะ…

ปลาแซลมอนเป็นอาหารที่นิยม เนื้อปลาแซลมอนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำไปแปรรูปต่าง ๆ ทั้ง ปลาดระป๋องหรือเนื้อปลาสด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญและมีการประมงทั่วโลก รวมถึงการตกเป็นเกมกีฬาด้วย การศึกษาพบว่าเนื้อปลาแซลมอนมีโปคตีนสูง มีกรดอะมิโนที่มีคุณค่า จัดว่าเป็นปลามีไขมันสูงรวมทั้งกรดไขมันโอเมก้า-3ซึ่งผู้บริโภคให้ความนิยมมีวิตามิน A, D,B6,B12รวมทั้งไนอาซินและไรโบเฟลวิน, ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, สังกะสี, แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสนับเป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง จัดเป็นอาหารสุขภาพเหมาะสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะเป็นเนื้อปลาที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งบางชนิดได้ด้วย อนึ่ง ปลาแซลมอนที่พบในประเทศญี่ปุ่นอาจมีปริมาณไขมันน้อยกว่าปลาแซลมอนที่อื่นด้วย แต่ปลาก็เป็นแหล่งคอเลสเตอรอลด้วยโดยมี 23-485 ม.ก. ต่อปลา 100 ก. ขึ้นอยู่กับสปีชีส์ ปลาแซลมอนเลี้ยงอาจมีระดับสารพิษdioxin (Polychlorinated dibenzodioxins) สูง เช่น ระดับ PCB (Polychlorinated biphenyl) อาจสูงเป็นแปดเท่าของปลาธรรมชาติแต่ก็ยังต่ำกว่าขีดอันตรายมาก ประโยชน์ของการทานแม้ปลาแซลมอนเลี้ยงก็ยังมากกว่าความเสี่ยงที่อาจมีสิ่งปนเปื้อน เนื้อปลาดิบอาจมีพยาธิทะเล คนญี่ปุ่นไม่ได้บริโภคปลาแซลมอนดิบ และทั้งเนื้อปลาและไข่ปลาก็พึ่งมาใช้ทำซาชิมิและซูชิเมื่อเริ่มมีปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ที่ไร้พยาธิในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980

 

 

แหล่งอ้างอิง: https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99


ความคิดเห็น (0)

 ต้องการแสดงความคิดเห็น.
ยังไม่มีคนแสดงความคิดเห็น เริ่มแสดงความคิดเห้นได้เลยนะ
.